ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล

      1.ประวัติเทศบาล

                  เทศบาลตำบลนิคม เดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2546

                   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิคม คือ นายวิญญู  ขันผง โดยมีที่ทำการ  ตั้งอยู่ที่สภาตำบลนิคม บ้านเสริมชัยศรี หมู่ที่ 1 และได้ปรับปรุงให้เป็นที่ทำการเทศบาลตำบลนิคมจนถึงปัจจุบัน และเมื่อปีพ.ศ. 2551 องค์การบริหารส่วนตำบลนิคม ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลนิคมนายกเทศมนตรีตำบลนิคมคนปัจจุบัน  คือ   นายวิญญู  ขันผง

                   เมื่อมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเป็นเทศบาลตำบลนิคม และแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 2 เขต

                  เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย บ้านเสริมชัยศรี ม.1 บ้านคำแคน ม.5 และบ้านศรีสมบูรณ์ ม.4

                  เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย บ้านตาดดงเค็ง ม. 2 บ้านคำเชียงยืน ม. 3 บ้านคำประถม ม. 6 และบ้านแก้งนคร ม.7 เขตเลือกตั้งละ 6 คน รวมมีสมาชิกสภาเทศบาลตำบลนิคม ทั้งสิ้น 12  คน  โดยมีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้

                   อาณาเขตท้องที่ตำบลนิคม         

                 ทิศเหนือ          ติดต่อกับ         ตำบลโนนบุรี     อำเภอสหัสขันธ์     จังหวัดกาฬสินธุ์

                 ทิศใต้             ติดต่อกับ         ตำบลภูดิน        อำเภอเมือง         จังหวัดกาฬสินธุ์

                 ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         ตำบลโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์

                ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         เขื่อนลำปาว      อำเภอหนองกุงศรี   จังหวัดกาฬสินธุ์

        2. สภาพทั่วไป

              2.1      ที่ตั้งและอาณาเขตเทศบาลตำบลนิคม

                        เทศบาลตำบลนิคมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอสหัสขันธ์ ระยะห่างประมาณ 7 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ ตำบลนิคมมีพื้นที่ประมาณ 12,858 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ดังนี้

                            หมู่ที่ 1  เสริมชัยศรี                 หมู่ที่ 5  คำแคน

                            หมู่ที่ 2  ตาดดงเค็ง                  หมู่ที่ 6  คำประถม

                            หมู่ที่ 3  คำเชียงยืน                 หมู่ที่ 7 แก้งนคร

                            หมู่ที่ 4  ศรีสมบูรณ์

         

โดยมีอาณาเขต ดังนี้     

             หลักเขตที่ 1      ตั้งอยู่กึ่งกลางอ่างเก็บน้ำลำปาว บริเวณพิกัด UD 358459

ด้านเหนือ

             จากเขตที่ 1      เป็นเส้นตรงตามอ่างเก็บน้ำลำปาว ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคมกับตำบลโนนบุรีไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางถนนสายบ้านคำแคน-บ้านวังมะพลับ ตรงกิโลเมตรที่ 0+500  บริเวณพิกัด UD 387459 รวมระยะทางยาวประมาณ 2,900 เมตร

             จากเขตที่ 2      เป็นเส้นตรงตามที่ดินราษฏร  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคมกับตำบลโนนบุรี ไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ตรงอยู่ริมถนนลาดยางสายรอบภูกุ้มข้าว ด้านทิศใต้ บริเวณพิกัด UD 429459 รวมระยะทางยาวประมาณ 4,200 เมตร

             จากเขตที่ 3      เป็นเส้นตรงตามที่ดินราษฏร  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคม กับ ตำบลโนนน้ำเกลี้ยง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางทุ่งนา บริเวณพิกัด UD 427456 รวมระยะทางยาวประมาณ 360 เมตร

ด้านตะวันออก

            จากเขตที่ 4      เป็นเส้นตรงตามที่ดินราษฏร ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคม กับ ตำบลโนนน้ำเกลี้ยงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางทุ่งนา บริเวณพิกัด UD 425455 รวมระยะทางยาวประมาณ 200 เมตร

          จากเขตที่ 5      เป็นเส้นตรงตามที่ดินราษฏร ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคม กับ ตำบลโนนน้ำเกลี้ยงไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ตรงริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 สายกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ ด้านทิศตะวันออก บริเวณพิกัด UD 423455 รวมระยะทางยาวประมาณ 160 เมตร

          จากเขตที่ 6      เป็นเส้นเรียบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 สายกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ ด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคม กับ ตำบลโนนน้ำเกลี้ยง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางลำห้วยบง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 สายกาฬสินธุ์ - สหัสขันธ์ บริเวณพิกัด UD 429417 รวมระยะทางยาวประมาณ 4,000 เมตร

ด้านทิศใต้

          จากเขตที่ 7      เป็นเส้นเลียบกึ่งกลางลำห้วยบง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคม กับ ตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำลำห้วยบงไหลตกอ่างเก็บน้ำลำปาว บริเวณพิกัด UD 403420 รวมระยะทางยาวประมาณ 2,800 เมตรจากเขตที่ 8      เป็นเส้นเลียบกึ่งกลางร่องน้ำลึก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคม กับ ตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางร่องน้ำลึกบริเวณพิกัด UD 391425  รวมระยะทางยาวประมาณ 1,000 เมตร

          จากเขตที่ 9      เป็นเส้นเรียบกึ่งกลางร่องน้ำลึก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคมกับตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ตรงสิ้นสุดกึ่งกลางร่องน้ำลึกไหลลงอ่างเก็บน้ำลำปาว บริเวณพิกัด UD 368438 รวมระยะทางยาวประมาณ 2,500 เมตร

ด้านทิศตะวันตก

          จากเขตที่ 10     เป็นเส้นเลียบกึ่งกลางอ่างเก็บน้ำลำปาว ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคมกับตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางอ่างเก็บน้ำลำปาว บริเวณพิกัด UD 357446ระยะทางยาวประมาณ 2,700 เมตร

          จากเขตที่ 11     เป็นเส้นเลียบกึ่งกลางอ่างเก็บน้ำลำปาว ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลนิคมกับตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนไปบรรจบหลักเขตที่ 1 รวมระยะทางยาวประมาณ 1,300 เมตร     

          2.2      สภาพภูมิประเทศและอากาศ

         2.2.1 สภาพพื้นที่            :เทศบาลตำบลนิคม ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 12,858 ไร่ ( กรมการปกครอง , 2549 ) โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ดอน ทางทิศตะวันตกของตำบลอยู่ติดกับแม่น้ำลำปาว พื้นที่ของตำบลนี้มีความสูงประมาณ 170– 200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

         2.2.2 สภาพภูมิอากาศ  : ตำบลนิคม มีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดูกาลดังนี้

                    ฤดูร้อน    :      เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม

                    ฤดูฝน     :      เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน

                    ฤดูหนาว  :      เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์       

 

        3.  สภาพทางเศรษฐกิจ

               3.1  โครงสร้างทางเศรษฐกิจและรายได้ประชากร

                ประชากรในเขตเทศบาลตำบลนิคม ยังเป็นชุมชนการเกษตร ทำไร่ ทำสวน  มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือมันสำประหลัง อ้อย และยางพารา โครงสร้างเศรษฐกิจของชุมชนมีพานิชยกรรมและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

                   การประกอบอุตสาหกรรม  ในชุมชนเทศบาลตำบลนิคม ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ใช้แรงงานไม่มาก  ได้แก่

                   1.) โรงสีข้าวขนาดเล็ก              จำนวน  4   แห่ง ( ส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือน )

                   2.) โรงงานผลิตอิฐบล็อก            จำนวน   1   แห่ง

                   3. ) โรงงานผลิตขนมจีน            จำนวน   2   แห่ง

               3.2  การพานิชยกรรมและการบริการ

               การค้าและบริการในชุมชนเทศบาลตำบลนิคม  ประกอบด้วย ร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  บริเวณย่านการค้ากระจายทั่วไปในแต่ละหมู่บ้าน ลักษณะของการค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นร้านค้าขนาดเล็ก จำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

                   1. ร้านขายของชำ                   จำนวน            18      แห่ง

                   2. ร้านขายอาหาร                  จำนวน           2        แห่ง

                   3. ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่างอื่น   จำนวน           -         แห่ง

                   4. ร้านบริการเสริมสวย             จำนวน           1        แห่ง    

                   5. ร้านซ่อมเครื่องยนต์              จำนวน           2        แห่ง

                   6. ปั๊มน้ำมัน                         จำนวน           1        แห่ง

                   7. สถานที่พัก ( รีสอร์ท )           จำนวน           2        แห่ง

                   8. ปั๊มหลอด                         จำนวน            1         แห่ง

ข้อมูลจาก:  ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ ณ วันที่  12  พฤษภาคม  2557

          3.3    การท่องเที่ยว

                   ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนิคม  มีแหล่งท่องเที่ยว คือ สวนไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่จัดเป็นสวนไดโนเสาร์ แหล่งท่องเที่ยวบ้านคำแคน หมู่ที่ 5 และสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง พิพิธภัณฑ์สิรินธร สะพานเทพสุดา เป็นต้น

          3.4   การปศุสัตว์

                   ในพื้นที่เทศบาลตำบลนิคม การเลี้ยงสัตว์จะเป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้า โดยเฉพาะสัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ โค และเพื่อบริโภคในครัวเรือนรวมทั้งจำหน่ายเป็นบางครั้ง ได้แก่ ไก่  เป็ด

         4.   ด้านการศึกษา

                ภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม  มีการให้บริการอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมหรือช่วยดูแลเด็กที่บิดามารดาต้องไปประกอบอาชีพประจำวัน

         5.   ด้านศาสนา และวัฒนธรรม

                ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนิคม 100% นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้าน  จำนวน   4  แห่ง  ได้แก่ วัดเวฬุวัน วัดอรุณรังษีวราราม วัดบ้านเสริมชัยศรี วัดประชาสงเคราะห์ บ้านคำแคน  นอกจากนั้น ตำบลนิคมยังมีพระพุทธสิริสัตตราช ( หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ  คู่บ้านคู่เมือง และเป็นที่สักการะของประชาชนในพื้นที่และประชาชนทั่วไป ประเพณีที่สร้างชื่อเสียงให้กับเทศบาลตำบลนิคม ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ,ประเพณีสงกรานต์ บุญบั้งไฟ, แห่กันหลอน  และ ประเพณีบุญมหาชาติ

         6.   ด้านส่งเสริมสุขภาพ

                 มีส่วนราชการที่ให้บริการด้านสาธารณสุข คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านตาดดงเค็ง จำนวน 1  แห่ง ที่ตั้ง บ้านตาดดงเค็ง  หมู่ที่ 2  ตำบลนิคม  อำเภอสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  และมีกองทุนสุขภาพตำบลนิคม

         7.   ด้านสังคม

                ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม จึงมีการให้ความช่วยเหลือคนชรา ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ยากจน โดยให้ความช่วยเหลือด้าน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์

         8. การป้องกันและและบรรเทาสาธารณภัย

                   -  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน         จำนวน   62  คน

                   -  หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน ( EMS )              จำนวน    1  หน่วย

                   -  รถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์                จำนวน    1  คัน

                   -  รถบริการแพทย์ฉุกเฉิน                    จำนวน    1  คัน

         9. การบริการขั้นพื้นฐาน

              9.1  การคมนาคมและขนส่ง

                             1.)  เส้นทางคมนาคม  ชุมชนเทศบาลตำบลนิคม มีการคมนาคมติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงสะดวกสบาย โดยมีเส้นทางรถยนต์ ดังนี้

                             -  ทางหลวงหมายเลข 227 ที่เชื่อมระหว่างพื้นที่เส้นทางสายกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์โดยผ่านอำเภอเมือง เขตเทศบาลตำบลหนองสอ และใช้เส้นทางถนนสาย 227 ดังกล่าวจนถึง เขตอำเภอสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์

                             - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 ดังกล่าวยังสามารถติดต่อกับเขตพื้นที่ใกล้เคียงได้ โดยสามารถติดต่อกับเทศบาลตำบลโนนบุรี เทศบาลตำบลภูสิงห์เทศบาลตำบลโนนน้ำเกลี้ยงในเขตพื้นที่อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์และติดต่อไปยังอำเภอสมเด็จ

                             - ถนนที่ใช้สัญจรไป-มาในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต และถนนลูกรังเป็นเส้นทางคมนาคมสู่พื้นที่การเกษตร ถนนที่ใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต และถนนลูกรังปัญหาของระบบและโครงข่ายถนน ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถแยกได้ดังนี้

                             - สภาพถนน  ภาพพื้นผิวจราจรของถนนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ อยู่ในสภาพดี แต่ถนนบางสายมีสภาพชำรุดและคับแคบ การเชื่อมโยงการจราจรภายในหมู่บ้านเป็นไปด้วยดี การจราจรไม่มีปัญหา  เพราะมีหมู่บ้านที่แยกจากถนนสายหลัก และมีปริมาณการจราจรไม่คับคั่ง การเดินทางของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนิคม ใช้รถยนต์ประจำทาง สายกาฬสินธุ์ - สหัสขันธ์ ,กาฬสินธุ์ - ขอนแก่น , กาฬสินธุ์ -สารคาม มีรถโดยสารประจำทางขนาดเล็กวิ่งระหว่าง อำเภอสหัสขันธ์กับอำเภอเมืองและใช้รถยนต์ส่วนตัว

                   9.2.  :     การสาธารณูปโภค

                             - การประปา ยังไม่มีระบบประปาที่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ประชาชนจึงยังอาศัยน้ำประปาบาดาลและประปาผิวดินที่ยังด้อยคุณภาพในการอุปโภค-บริโภค แต่เทศบาลตำบลนิคมยังเล็งเห็นความสำคัญในระบบน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของประชาชน จึงได้ตั้งงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านคุณภาพของน้ำประปา และงบประมาณเพื่อการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตน้ำประปา เพื่อให้บริการประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนิคม และมีโครงการน้ำพระราชดำริเป็นโครงการที่ช่วยเหลือประชาชน ในด้านน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค

                            - การไฟฟ้า  การไฟฟ้าภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม ใช้ไฟฟ้าจากสถานีบริการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ( อำเภอสหัสขันธ์ )

                             - การสื่อสาร ในเขตเทศบาลตำบลนิคม ยังไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ นอกจากนั้นมีการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน จำนวน 11 ตู้ สำหรับที่ทำการเทศบาลตำบลนิคม  มีการติดตั้งโทรศัพท์และให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตแก่ประชาชนทั่วไป

                  9.3   :     ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ทรัพยากรน้ำ  :  แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ คือ เขื่อนลำปาว อยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศของเขตเทศบาลตำบลนิคม และสระน้ำสาธารณะประจำหมู่บ้านต่างๆ รวมทั้งลำห้วยค้อซึ่งอยู่

ในหมู่บ้านคำแคน ลำห้วยด่านในหมู่บ้านคำเชียงยืน ลำห้วยบง อยู่บ้านแก้งนคร ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติซึ่งไว้ใช้ในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่และนอกจากนั้น ยังมีแหล่งน้ำใต้ดินที่เจาะได้ส่วนใหญ่เป็นการเจาะ เพื่อนำน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภคในครัวเรือน เป็นการเจาะเฉพาะครัวเรือนเท่านั้น

                   ทรัพยากรธรณี    ทรัพยากรดิน สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย บางแห่งมีปัญหาด้านดินเค็ม  มีการระบายน้ำค่อนข้างเร็ว  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงมีการนำปุ๋ยเคมีใช้ในการบำรุงพืชที่ปลูก และสภาพดินเหมาะสำหรับการปลูกมันสำประหลัง อ้อย และเริ่มปลูกยางพาราเป็นจำนวนมากทรัพยากรป่าไม้

                   ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า  :   ในเขตเทศบาลตำบลนิคมมีป่าปลูก แต่ยังไม่มีสัตว์ป่าแต่อย่างใดสภาพแวดล้อมการกำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลนิคม ยังไม่มีรถเก็บขยะ และยังไม่มีการจัดให้มีที่ทิ้งขยะ เนื่องจากชุมชนในเขตเทศบาลตำบลนิคมเป็นชุมชนขนาดเล็ก จึงไม่มีปัญหาด้านขยะมูลฝอย ซึ่งขยะมูลฝอยที่พบเห็นในปัจจุบัน เป็นขยะมูลฝอยจากครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งในแต่ละครัวเรือนสามารถกำจัดขยะเหล่านั้นได้  อย่างไรก็ตามเทศบาลตำบลนิคม ได้บรรจุการจัดซื้อรถเก็บขยะและการจัดหาสถานที่ทิ้งขยะไว้ในแผนพัฒนา  เพื่อการพัฒนาในอนาคต

         10. การเมืองการบริหาร

                 การบริหาร  :  เทศบาลตำบลนิคม แบ่งส่วนการบริหารออกเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร

                (1.)      ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สมาชิกสภาเทศบาล                       จำนวน  12 คน

               (2.)      ฝ่ายบริหาร  ได้แก่         2.1 นายกเทศมนตรี

                                                                 2.2 รองนายกเทศมนตรี                จำนวน  2  คน

                                                                 2.3 ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี       จำนวน   1  คน

                                                                 2.4 เลขานุการนายกเทศมนตรี     จำนวน  1  คน

 

Visitors: 85,930