การออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม
คู่มือสำหรับประชาชน เรื่อง การออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม
งานที่ให้บริการ |
การออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
งานนิติการ สำนักปลัด เทศบาลตำบลนิคม |
ขอบเขตการให้บริการ |
|
สถานที่/ช่องทางการให้บริการ |
ระยะเวลาเปิดให้บริการ |
งานนิติการ สำนักปลัด เทศบาลตำบลนิคม โทรศัพท์ : ๐๔๓ – ๘๗๑๑๓๗ : ๐๘๑ – ๘๗๒๓๒๗๔ : ๐๙๗ – ๓๐๙๑๓๓๓ |
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. และ ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. |
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอ
ตามพระราชบัญญัติเทศบาลเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๓ ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดหน้าที่ของเทศบาลเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างในโฉนดที่ดินไว้เป็นการเฉพาะ แต่กรณีการออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง อาจมีกฎหมายบางฉบับกำหนดให้เป็นการเฉพาะในการออกหนังสือของทางราชการหรือหนังสือรับรองไว้ในกฎหมายนั้น ๆ ได้ เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ วรรคสาม กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องออกเอกสารทางราชการของผู้ประสบภัยที่สูญหายหรือเสียหายเนื่องจากสาธารณภัย หรือประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๗๔ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณี และเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน เป็นต้น จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอประกอบกับ หนังสือที่ สส ๐๐๒๓.๔/๑๓๕๕๕ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ไว้ถือปฏิบัติ ดังนี้
๑. การพิจารณา
-ในการตรวจพิจารณาคำร้องขอให้เทศบาลตำบลนิคม ออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินภายในเขตเทศบาลตำบลนิคมนั้น จะต้องพิจารณาว่า การออกหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายบทบัญญัติใด ซึ่งหากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ ก็อาจเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร (มาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒)
- การยื่นคำร้องขอให้เทศบาลตำบลนิคม ออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. การออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขอบ้านเลขที่ใหม่
๒. การออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการจดทะเบียนจำนองที่ดิน (สำนักงานที่ดินจังหวัด)
๒. ระยะเวลาในการพิจารณา
- ในการพิจารณารับคำร้อง ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน ๑๐ นาที
ขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ |
|
ขั้นตอน |
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ |
๑. ยื่นคำร้อง (ระยะเวลา ๕ นาที) |
งานนิติการ สำนักปลัด |
๒. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร (ระยะเวลา ๕ นาที) |
งานนิติการ สำนักปลัด |
๓. เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น (ระยะเวลา ๓๐ นาที) |
งานนิติการ สำนักปลัด |
๔. เจ้าหน้าที่ลงพื้นตรวจสอบถ่ายรูปบันทึกไว้เป็นหลักฐาน (ระยะเวลาไม่เกิน ๑ วัน) |
งานนิติการ สำนักปลัด |
๕. เจ้าหน้าที่ดำเนินการออกหนังสือรับรอง(ระยะเวลาไม่เกิน ๑ วัน) |
งานนิติการ สำนักปลัด |
ระยะเวลา |
ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ไม่เกิน ๓ วัน |
รายการเอกสารหลักฐานประกอบ |
เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้ |
๑. การขอหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้ - สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง จำนวน ๑ ชุด - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง จำนวน ๑ ชุด - สำเนาโฉนดที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำนวน ๑ ชุด ๒. การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง - หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องมิใช่บุคคลที่มีส่วนได้เสียต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ จำนวน ๑ ชุด - สำเนาใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ออกโดยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน (กรณีขอบ้านเลขที่ใหม่) - สำเนาหนังสือรับรองส้วม ออกโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (กรณีขอบ้านเลขที่ใหม่) |
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ไม่มีค่าธรรมเนียม
การรับเรื่องร้องเรียน
ถ้าการให้บริการไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ข้างต้น สามารถติดต่อเพื่อร้องเรียนได้ที่ เทศบาลตำบลนิคม โทรศัพท์ : ๐๔๓ – ๘๗๑๑๓๗ หรือ
๐๘๑ –๘๗๒๓๒๗๔ หรือ ๐๙๗ – ๓๐๙๑๓๓๓
ขั้นตอนการพิจารณาและระยะเวลาในการออกหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างและที่ดินภายในเขตเทศบาลตำบลนิคม (๓ วัน)
หมายเหตุ ระยะเวลาที่มีการขอเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาจะไม่นับรวมระยะเวลาพิจารณาคำร้องตามที่กำหนด